ผ้ายกลายราชวัติ
Item
Dublin Core
Title
ผ้ายกลายราชวัติ
VRA Core
Work Attributes
Title
1) ชื่อทั่วไป : ผ้าถุง
2) ชื่อภาษาไทย : ผ้าถุง
3) ชื่อภาษาถิ่น : ผ้านุ่ง, ผ้าซิ่น
4) ชื่อเรียกเฉพาะ : ผ้ายกลายราชวัติ
2) ชื่อภาษาไทย : ผ้าถุง
3) ชื่อภาษาถิ่น : ผ้านุ่ง, ผ้าซิ่น
4) ชื่อเรียกเฉพาะ : ผ้ายกลายราชวัติ
Agent
แม่อุ้ยหมู ชื่นชม
Cultural Context
ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยวน
1) เรื่องราวการทอผ้าของชาวลำพูน : ผ้าทอของคนลำพูน เป็นการผสมผสานงานหัตถศิลป์เมืองเหนือเข้ากับวัฒนธรรมสิ่งทอของภาคกลาง เกิดขึ้นจากเจ้าดารารัศมี พระธิดาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าเชียงใหม่ลำดับที่ 7 กับพระเทวีแม่เจ้าเทพไกรสรหรือทิพเกสร ซึ่งได้ถวายตัวเข้าเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์เจ้าพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับตัวเจ้าดารารัศมีเข้ามาพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อพุทธศักราช 2429 จนกระทั่งปลายรัชกาลราวพุทธศักราช 2451 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยยศเจ้าดารารัศมีขึ้นเป็นพระราชชายา ตลอดระยะเวลาที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทรงยึดมั่นรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบล้านนาอย่างเหนียวแน่น มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงมานุ่งห่มตามแบบแผนของราชสำนักสยาม ยามที่ต้องแต่งพระองค์เต็มยศประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ของราชสำนักสยามกำหนดให้เจ้านายฝ่ายในทรงพระภูษายกทอง ก็ทรงยักย้ายทรงพระภูษาซิ่นที่ทอขึ้นในรูปลักษณ์พิเศษ ผสมผสานลักษณะของผ้ายกในราชสำนักสยามเข้ากับผ้าซิ่นตีนจกไหมคำตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนา แนวพระดำริในการสรรค์สร้างผ้าซิ่นอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าวได้รับการสืบสานอย่างจริงจังภายหลักจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช 2453 ต่อมาในพุทธศักราช 2457 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จขึ้นไปประทับ ณ นครเชียงใหม่
ในเวลาต่อมาศิลปะการทอผ้ายกตามแบบฉบับของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในคุ้มเจ้า นายฝ่ายเหนือแห่งนครเชียงใหม่เท่านั้น แต่ได้แพร่กระจาย ไปทั่วดินแดนล้านนา และเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายเป็นที่สุด ที่จังหวัดลำพูน ในชื่อของ “ผ้ายกดอกลำพูน” ก่อให้เกิดชื่อ เสียงขจรขจายไปไกลเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหนังสือเจ้าหลวงลำพูน ได้กล่าวไว้ว่า คุ้มหลวงหลัง เก่าของเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ ที่ได้รับเป็นมรดกสืบทอดมา จากเจ้าหลวงอินทยงยศโชติเป็นอาคารไม้ใต้ถุนยกสูงมีพื้นที่ 4 ไร่เศษ บริเวณใต้ถุนคุ้มหลวงมีกี่ทอผ้าจำนวนหลายหลังเพื่อ ทอซิ่นตีนจกและผ้ายกดอก การทอผ้ายังคงได้รับการสืบทอด มาจนถึงทายาทรุ่นต่อมา โดยเฉพาะเจ้าหญิงลำเจียก ณ ลำพูน (พ.ศ.2442-2503) ธิดาในเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ หลังจาก ออกเรือนด้วยการเสกสมรสกับหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ แล้วไปสร้างเป็นคุ้มตึกทรงยุโรป 2 ชั้นสีเขียวตรงข้ามเยื้องกับ คุ้มหลวงด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่คุ้มกว้างขวาง 4 ไร่เศษ เจ้าหญิงลำเจียกมีกี่ทอผ้าในโรงทอผ้าภายในคุ้มร้อยกว่าหลัง เดิมเจ้านายฝ่ายหญิงเมืองนครลำพูนนิยมทอผ้าซิ่นตีนจกอยู่ ก่อนแล้ว ลักษณะซิ่นตีนจกของเจ้านายหัวซิ่นจะทอเรียบไม่มี ลวดลาย ตัวซิ่นจะทอด้วยไหมทองคำเป็นลวดลายขวาง ส่วนตีนจก จะยกดอกเป็นลวดลายต่าง ๆ ด้วยไหมทองคำบนพื้นที่สีแดง เมื่อ เสร็จแล้วจึงนำเอาหัวซิ่น ตัวซิ่น กับตีนซิ่นมาเย็บต่อกัน ต่อมาเจ้าหญิงลำเจียกจึงได้ไปเรียนทอผ้ายกกับพระราชชายา เจ้าดารารัศมีที่เมืองนครเชียงใหม่ แล้วนำมาทอที่คุ้มวังหลวง เมืองนครลำพูนและคุ้มเจ้าหญิงลำเจียก สตรีช่างทอผ้าภายใน คุ้มเจ้าหญิงลำเจียกมาจากหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านท่าขาม บ้านเวียงยอง บ้านตูลี้ บ้านวังไฮ และบ้านธิ เป็นต้น บางคน มาฝึกหัดทอผ้าภายในคุ้ม เมื่อทอชำนาญก็รับเส้นไหมไปทอที่ บ้าน เมื่อทอเสร็จก็นำมาส่งที่คุ้มและรับเงินค่าแรงไป เจ้าหญิง ลำเจียกจะควบคุมดูแลทุกขั้นตอนไปพร้อมกับการคิดค้น ลวดลายใหม่ ๆ และกำหนดสีสันบนผืนผ้าอย่างลงตัว ส่วนเจ้าหญิง ส่วนบุญ ณ ลำพูน ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าหนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่) กับเจ้าแม่คำย่น ณ ลำพูน ราชเทวีในเจ้าหลวง จักรคำขจรศักดิ์ ก็โปรดการทอผ้าซิ่นตีนจก ผ้ายก และให้การ อุปถัมภ์การทอผ้าเสมอมา (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558)
1) เรื่องราวการทอผ้าของชาวลำพูน : ผ้าทอของคนลำพูน เป็นการผสมผสานงานหัตถศิลป์เมืองเหนือเข้ากับวัฒนธรรมสิ่งทอของภาคกลาง เกิดขึ้นจากเจ้าดารารัศมี พระธิดาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าเชียงใหม่ลำดับที่ 7 กับพระเทวีแม่เจ้าเทพไกรสรหรือทิพเกสร ซึ่งได้ถวายตัวเข้าเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์เจ้าพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับตัวเจ้าดารารัศมีเข้ามาพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อพุทธศักราช 2429 จนกระทั่งปลายรัชกาลราวพุทธศักราช 2451 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยยศเจ้าดารารัศมีขึ้นเป็นพระราชชายา ตลอดระยะเวลาที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทรงยึดมั่นรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบล้านนาอย่างเหนียวแน่น มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงมานุ่งห่มตามแบบแผนของราชสำนักสยาม ยามที่ต้องแต่งพระองค์เต็มยศประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ของราชสำนักสยามกำหนดให้เจ้านายฝ่ายในทรงพระภูษายกทอง ก็ทรงยักย้ายทรงพระภูษาซิ่นที่ทอขึ้นในรูปลักษณ์พิเศษ ผสมผสานลักษณะของผ้ายกในราชสำนักสยามเข้ากับผ้าซิ่นตีนจกไหมคำตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนา แนวพระดำริในการสรรค์สร้างผ้าซิ่นอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดังกล่าวได้รับการสืบสานอย่างจริงจังภายหลักจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช 2453 ต่อมาในพุทธศักราช 2457 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จขึ้นไปประทับ ณ นครเชียงใหม่
ในเวลาต่อมาศิลปะการทอผ้ายกตามแบบฉบับของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในคุ้มเจ้า นายฝ่ายเหนือแห่งนครเชียงใหม่เท่านั้น แต่ได้แพร่กระจาย ไปทั่วดินแดนล้านนา และเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายเป็นที่สุด ที่จังหวัดลำพูน ในชื่อของ “ผ้ายกดอกลำพูน” ก่อให้เกิดชื่อ เสียงขจรขจายไปไกลเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหนังสือเจ้าหลวงลำพูน ได้กล่าวไว้ว่า คุ้มหลวงหลัง เก่าของเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ ที่ได้รับเป็นมรดกสืบทอดมา จากเจ้าหลวงอินทยงยศโชติเป็นอาคารไม้ใต้ถุนยกสูงมีพื้นที่ 4 ไร่เศษ บริเวณใต้ถุนคุ้มหลวงมีกี่ทอผ้าจำนวนหลายหลังเพื่อ ทอซิ่นตีนจกและผ้ายกดอก การทอผ้ายังคงได้รับการสืบทอด มาจนถึงทายาทรุ่นต่อมา โดยเฉพาะเจ้าหญิงลำเจียก ณ ลำพูน (พ.ศ.2442-2503) ธิดาในเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ หลังจาก ออกเรือนด้วยการเสกสมรสกับหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ แล้วไปสร้างเป็นคุ้มตึกทรงยุโรป 2 ชั้นสีเขียวตรงข้ามเยื้องกับ คุ้มหลวงด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่คุ้มกว้างขวาง 4 ไร่เศษ เจ้าหญิงลำเจียกมีกี่ทอผ้าในโรงทอผ้าภายในคุ้มร้อยกว่าหลัง เดิมเจ้านายฝ่ายหญิงเมืองนครลำพูนนิยมทอผ้าซิ่นตีนจกอยู่ ก่อนแล้ว ลักษณะซิ่นตีนจกของเจ้านายหัวซิ่นจะทอเรียบไม่มี ลวดลาย ตัวซิ่นจะทอด้วยไหมทองคำเป็นลวดลายขวาง ส่วนตีนจก จะยกดอกเป็นลวดลายต่าง ๆ ด้วยไหมทองคำบนพื้นที่สีแดง เมื่อ เสร็จแล้วจึงนำเอาหัวซิ่น ตัวซิ่น กับตีนซิ่นมาเย็บต่อกัน ต่อมาเจ้าหญิงลำเจียกจึงได้ไปเรียนทอผ้ายกกับพระราชชายา เจ้าดารารัศมีที่เมืองนครเชียงใหม่ แล้วนำมาทอที่คุ้มวังหลวง เมืองนครลำพูนและคุ้มเจ้าหญิงลำเจียก สตรีช่างทอผ้าภายใน คุ้มเจ้าหญิงลำเจียกมาจากหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านท่าขาม บ้านเวียงยอง บ้านตูลี้ บ้านวังไฮ และบ้านธิ เป็นต้น บางคน มาฝึกหัดทอผ้าภายในคุ้ม เมื่อทอชำนาญก็รับเส้นไหมไปทอที่ บ้าน เมื่อทอเสร็จก็นำมาส่งที่คุ้มและรับเงินค่าแรงไป เจ้าหญิง ลำเจียกจะควบคุมดูแลทุกขั้นตอนไปพร้อมกับการคิดค้น ลวดลายใหม่ ๆ และกำหนดสีสันบนผืนผ้าอย่างลงตัว ส่วนเจ้าหญิง ส่วนบุญ ณ ลำพูน ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าหนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่) กับเจ้าแม่คำย่น ณ ลำพูน ราชเทวีในเจ้าหลวง จักรคำขจรศักดิ์ ก็โปรดการทอผ้าซิ่นตีนจก ผ้ายก และให้การ อุปถัมภ์การทอผ้าเสมอมา (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558)
- @dataDate 2021-03-05 22:46:37
Date
ไม่ระบุ
Description
1)คำอธิบายเกี่ยวกับผ้า :
- ผ้าลายราชวัติ มีการทอมาแต่โบราณ ปัจจุบันมีการทอลายราชวัติแปลงเป็นลายดอกพริก สามารถพบได้ที่ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน (สำนักพิพิธภัณฑสถาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550)
2) การใช้ประโยชน์ของผ้า : ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน
- ผ้าลายราชวัติ มีการทอมาแต่โบราณ ปัจจุบันมีการทอลายราชวัติแปลงเป็นลายดอกพริก สามารถพบได้ที่ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน (สำนักพิพิธภัณฑสถาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550)
2) การใช้ประโยชน์ของผ้า : ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน
Inscription
-การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวน การแต่งกายของผู้หญิงไทยวนจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือ “ผ้าซิ่น”
Location
พิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณเฮือนยอง วัดต้นแก้ว
Material
ผ้าฝ้าย
Measurements
กว้าง 32 นิ้ว ยาว 37 นิ้ว
Relation
1)ลายหลัก : ลายราชวัติ
2) ลายประกอบ : ไม่มี
3) ลักษณะการใช้งาน : ใช้เป็นผ้านุ่งใช้ในชีวิตประจำวัน
4) ประเภทลายผ้า : ผ้าลายโบราณ
5) การสื่อความหมายของผ้า (ลวดลายผ้า เช่น ลายพรรณพฤกษา, ลายสัตว์ เป็นต้น) : ไม่ระบุแน่ชัด
6) ตำแหน่งบนผืนผ้า (ตีนซิ่น ตัวซิ่น หัวซิ่น)
-ทอลายราชวัติเต็มผืนผ้า
7) ความเชื่อของลายผ้าทอ :
- ไม่ระบุแน่ชัด
1)การออกแบบลวดลายผ้ายกดอก
-การออกแบบลวดลายผ้ายกดอก มี 2 ลักษณะ คือ
(1) การแกะลาย เป็นขั้นตอนที่อาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็ฯกระบวนการอ่านจำนวนเส้นด้ายขึ้นและลงในแต่ละเขาหรือไม้ โดยอ่านเส้นด้ายจากผ้าผืนเดิมเพื่อให้การทอผ้าผืนใหม่มีลวดลายของผ้าเหมือนผ้าผืนเดิม ซึ่งวิธีการแกะลายผ้ายกดอกลายดอกพิกุล ช่างแกะลายจะดูช่องฟันหวี โดยช่องหนึ่งจะมีสองเส้นแล้วดูลายเริ่มจากเขาที่ 1 ตั้งแต่เอวถึงเชิงไปทีละลาย ซึ่งแต่ละเขาช่องว่างระหว่างลายจะลงและขึ้นไม่เหมือนกันแล้วจุดลายลงบนสมุดกราฟ โดยเริ่มดูลายจากครึ่งดอกเวลาจุดลาจุดครึ่งดอก ซึ่งเวลาทอผ้าจะทอไปกลับได้หนึ่งดอก
(2) การจุดลาย เป็นกระบวนการจุดลายที่ต้องการทอลงบนกระดาษกราฟแล้วระบายสีลงในช่อง โดยใช้สีหรือเครื่องหมายสำหรับช่องขึ้นและช่องลงให้ต่างกันเพื่อให้เห็นลวดลายเด่นชัด การจุดลายนั้นจะจุดลายเพียงครึ่งดอก หรือครึ่งลาย ซึ่งเมื่อนำไปทอจะทอไปกลับทำให้ได้หนึ่งดอกหรือเต็มลาย (ณัฐพร ศรีกัณทา, 2547; สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน, 2551)
2) ลายประกอบ : ไม่มี
3) ลักษณะการใช้งาน : ใช้เป็นผ้านุ่งใช้ในชีวิตประจำวัน
4) ประเภทลายผ้า : ผ้าลายโบราณ
5) การสื่อความหมายของผ้า (ลวดลายผ้า เช่น ลายพรรณพฤกษา, ลายสัตว์ เป็นต้น) : ไม่ระบุแน่ชัด
6) ตำแหน่งบนผืนผ้า (ตีนซิ่น ตัวซิ่น หัวซิ่น)
-ทอลายราชวัติเต็มผืนผ้า
7) ความเชื่อของลายผ้าทอ :
- ไม่ระบุแน่ชัด
1)การออกแบบลวดลายผ้ายกดอก
-การออกแบบลวดลายผ้ายกดอก มี 2 ลักษณะ คือ
(1) การแกะลาย เป็นขั้นตอนที่อาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็ฯกระบวนการอ่านจำนวนเส้นด้ายขึ้นและลงในแต่ละเขาหรือไม้ โดยอ่านเส้นด้ายจากผ้าผืนเดิมเพื่อให้การทอผ้าผืนใหม่มีลวดลายของผ้าเหมือนผ้าผืนเดิม ซึ่งวิธีการแกะลายผ้ายกดอกลายดอกพิกุล ช่างแกะลายจะดูช่องฟันหวี โดยช่องหนึ่งจะมีสองเส้นแล้วดูลายเริ่มจากเขาที่ 1 ตั้งแต่เอวถึงเชิงไปทีละลาย ซึ่งแต่ละเขาช่องว่างระหว่างลายจะลงและขึ้นไม่เหมือนกันแล้วจุดลายลงบนสมุดกราฟ โดยเริ่มดูลายจากครึ่งดอกเวลาจุดลาจุดครึ่งดอก ซึ่งเวลาทอผ้าจะทอไปกลับได้หนึ่งดอก
(2) การจุดลาย เป็นกระบวนการจุดลายที่ต้องการทอลงบนกระดาษกราฟแล้วระบายสีลงในช่อง โดยใช้สีหรือเครื่องหมายสำหรับช่องขึ้นและช่องลงให้ต่างกันเพื่อให้เห็นลวดลายเด่นชัด การจุดลายนั้นจะจุดลายเพียงครึ่งดอก หรือครึ่งลาย ซึ่งเมื่อนำไปทอจะทอไปกลับทำให้ได้หนึ่งดอกหรือเต็มลาย (ณัฐพร ศรีกัณทา, 2547; สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน, 2551)
Source
1) สถานที่พบเห็นลายผ้า : ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
2) สถานที่ผลิตลายผ้า : จ.ลำพูน
3) สถานที่จำหน่ายลายผ้า : จ.ลำพูน
2) สถานที่ผลิตลายผ้า : จ.ลำพูน
3) สถานที่จำหน่ายลายผ้า : จ.ลำพูน
Style Period
1)พ.ศ. : พ.ศ. 2451
2)ยุคสมัยของการทอ : ไม่ระบุ
3) อายุของผ้า : 112 ปี
2)ยุคสมัยของการทอ : ไม่ระบุ
3) อายุของผ้า : 112 ปี
Subject
-ผ้ายกลายราชวัติ, ผ้ายก
-ผ้าทอ, ผ้านุ่ง, ผ้าถุง, ผ้าซิ่น
-ลายราชวัติ
-ผ้าทอ, ผ้านุ่ง, ผ้าถุง, ผ้าซิ่น
-ลายราชวัติ
Technique
1)เทคนิคการทอ :
-ใช้วิธีการทอแบบเหยียบเติมลาย
2) สีของผ้า : สีน้ำตาลเหลือง สีเหลือง
3)วัสดุตกแต่งผ้า : ไม่มี
4)การย้อมสีฝ้าย : สีย้อมที่ใช้ย้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
(1) สีธรรมชาติ ส่วนมากจะได้มาจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ขมิ้น ให้สีเหลือง มะเกลือหมักโคลนให้สีดำ เปลือกสีเสียดให้สีแดงอิฐ ครั่งให้สีแดงอมม่วง เป็นต้น (สำนักพิพิธภัณฑสถาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550)
(2) สีวิทยาศาสตร์ เป็นสีที่ผสมขึ้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น สีเบสิค สีแอสิค สีไดเร็ด สีรีแอ็คทีฟ สีแวต เป็นต้น (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558)
5) อุปกรณ์ในการทอผ้า : การทอผ้าฝ้ายยกดอกเป็นงานที่มีความละเอียดสูง สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอประกอบด้วย กี่ ฝ้ายเครือ กวัก ม้าเดินด้าย ตะกอ กระสวย เขาดอก เขาย้ำ ฟันหวี ไม้หลาบ ไม้กระแทก ไม้เหยียบ ไม้คิ้ว และไม้เภา (มนชนก อุปะทะ, 2559)
6) ขั้นตอนการทอ :
(1) การออกแบบลายกราฟ
(2) การกรอไหมและการเข้าหลอด คือการนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการฟอก การย้อม และการลงแป้งมากรอกเข้าหลอด ซึ่งมีอยู่ 2 ขนาด คือ หลอดใหญ่และหลอดเล็ก โดยการกรอเส้นไหมเข้าหลอดใหญ่โดยนำเส้นไหมที่ทำการย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้วมาสาวเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อเตรียมไปทอผ้ายก และกรอเส้นไหมเข้าหลอดเล็กด้วยปริมาณไหมที่พอดีไม่หนาเกินไป
(3) การกวักฝ้าย คือการนำเอาฝ้ายมาทำเป็นไจ แล้วเอาฝ้ายมาเข้าเครื่องกวัก หลังจากนั้นำฝ้ายที่ได้มากวักเข้าใส่กระป๋อง
(4) การโว้นหูกหรือการสาวไหม เริ่มจากการนำไหมยืนหลอดใหญ่ใส่ช่องเสียบหลอดที่ราวใส่หลอดไหมตามจำนวนที่กำหนด ดึงเส้นไหมทุกหลอดมารวมกันแล้วนำมาที่จุดเริ่มต้นของม้าเดินไหม นำกระบอกมาคล้องเส้นไหมทั้งหมดแล้วดึงให้ตึงอย่างต่อเนื่อง
(5) การเข้าหัวม้วน คือการนำไหมยืนสาวเรียบร้อยแล้วมาเข้าฟืมและดึงไหมยืนเข้าหัวม้วนเพื่อเตรียมเอาขึ้นกี่ทอผ้า
(6) การนำหัวม้วนขึ้นกี่ทอผ้าพื้นเมืองมี 2 ลักษณะ คือ การนำหัวม้วนขึ้นกี่ใหม่และการำหัวม้วนขึ้นเพื่อสืบหูก
(7) การเก็บตะกอเหยียบ คือ การใช้ด้ายไนลอนร้อยเส้นไหมยืนออกเป็น 2 ชุด ใช้สำหรับการยกและการข่มเส้นไหมเวลาทอผ้ายก
(8) การคัดลาย คือ การนำลายกราฟที่ออกแบบเรียบร้อยแล้วมาคัดลายบนเส้นไหมยืนแต่ละเส้นตามที่ออกแบบไว้ เพื่อนำไปเก็บตะกอดอกและใช้สำหรับการยกลวดลายบนผืนผ้า
(9) การเก็บตะกอดอกหรือการร้อยตะกอเขาดอก คือการใช้ด้ายไนลอนมัดเก็บลวดลายที่คัดไว้ก่อนหน้านี้ ร้อยผูกกับไม้ดิ้ว ตามจำนวนช่องฟันหวี (จำนวนเส้นไหม) ที่ถูกยกขึ้นจนหมดเป็นแถวๆไป
(10) การทอผ้ายกเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการทอผ้ายกโดยนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ตามที่กลาวมาตามลำดับมาถักทอลวดลายให้เป็นผืนผ้า ซึ่งผ้ายกลำพูนมีวิธีการทอเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่การยกลวดลายของผ้าแต่ละผืนโดยอาจยกตะกอดอกครั้งเดียว หรืออาจยกตะกอดอกซ้ำกัน 2 ครั้งเพื่อให้ได้ขนาดดอกหรือลวดลายที่ใหญ่ขึ้น (ทัศวรรณ ธิมาคำ, รัตนา ณ ลำพูน และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล, 2554; ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558; มนชนก อุปะทะ, 2559)
7) โครงสร้างของผืนผ้า :
-เป็นผ้าทอยกดอกลายราชวัติทั้งผืน
-ใช้วิธีการทอแบบเหยียบเติมลาย
2) สีของผ้า : สีน้ำตาลเหลือง สีเหลือง
3)วัสดุตกแต่งผ้า : ไม่มี
4)การย้อมสีฝ้าย : สีย้อมที่ใช้ย้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
(1) สีธรรมชาติ ส่วนมากจะได้มาจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ขมิ้น ให้สีเหลือง มะเกลือหมักโคลนให้สีดำ เปลือกสีเสียดให้สีแดงอิฐ ครั่งให้สีแดงอมม่วง เป็นต้น (สำนักพิพิธภัณฑสถาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550)
(2) สีวิทยาศาสตร์ เป็นสีที่ผสมขึ้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น สีเบสิค สีแอสิค สีไดเร็ด สีรีแอ็คทีฟ สีแวต เป็นต้น (ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558)
5) อุปกรณ์ในการทอผ้า : การทอผ้าฝ้ายยกดอกเป็นงานที่มีความละเอียดสูง สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอประกอบด้วย กี่ ฝ้ายเครือ กวัก ม้าเดินด้าย ตะกอ กระสวย เขาดอก เขาย้ำ ฟันหวี ไม้หลาบ ไม้กระแทก ไม้เหยียบ ไม้คิ้ว และไม้เภา (มนชนก อุปะทะ, 2559)
6) ขั้นตอนการทอ :
(1) การออกแบบลายกราฟ
(2) การกรอไหมและการเข้าหลอด คือการนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการฟอก การย้อม และการลงแป้งมากรอกเข้าหลอด ซึ่งมีอยู่ 2 ขนาด คือ หลอดใหญ่และหลอดเล็ก โดยการกรอเส้นไหมเข้าหลอดใหญ่โดยนำเส้นไหมที่ทำการย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้วมาสาวเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อเตรียมไปทอผ้ายก และกรอเส้นไหมเข้าหลอดเล็กด้วยปริมาณไหมที่พอดีไม่หนาเกินไป
(3) การกวักฝ้าย คือการนำเอาฝ้ายมาทำเป็นไจ แล้วเอาฝ้ายมาเข้าเครื่องกวัก หลังจากนั้นำฝ้ายที่ได้มากวักเข้าใส่กระป๋อง
(4) การโว้นหูกหรือการสาวไหม เริ่มจากการนำไหมยืนหลอดใหญ่ใส่ช่องเสียบหลอดที่ราวใส่หลอดไหมตามจำนวนที่กำหนด ดึงเส้นไหมทุกหลอดมารวมกันแล้วนำมาที่จุดเริ่มต้นของม้าเดินไหม นำกระบอกมาคล้องเส้นไหมทั้งหมดแล้วดึงให้ตึงอย่างต่อเนื่อง
(5) การเข้าหัวม้วน คือการนำไหมยืนสาวเรียบร้อยแล้วมาเข้าฟืมและดึงไหมยืนเข้าหัวม้วนเพื่อเตรียมเอาขึ้นกี่ทอผ้า
(6) การนำหัวม้วนขึ้นกี่ทอผ้าพื้นเมืองมี 2 ลักษณะ คือ การนำหัวม้วนขึ้นกี่ใหม่และการำหัวม้วนขึ้นเพื่อสืบหูก
(7) การเก็บตะกอเหยียบ คือ การใช้ด้ายไนลอนร้อยเส้นไหมยืนออกเป็น 2 ชุด ใช้สำหรับการยกและการข่มเส้นไหมเวลาทอผ้ายก
(8) การคัดลาย คือ การนำลายกราฟที่ออกแบบเรียบร้อยแล้วมาคัดลายบนเส้นไหมยืนแต่ละเส้นตามที่ออกแบบไว้ เพื่อนำไปเก็บตะกอดอกและใช้สำหรับการยกลวดลายบนผืนผ้า
(9) การเก็บตะกอดอกหรือการร้อยตะกอเขาดอก คือการใช้ด้ายไนลอนมัดเก็บลวดลายที่คัดไว้ก่อนหน้านี้ ร้อยผูกกับไม้ดิ้ว ตามจำนวนช่องฟันหวี (จำนวนเส้นไหม) ที่ถูกยกขึ้นจนหมดเป็นแถวๆไป
(10) การทอผ้ายกเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการทอผ้ายกโดยนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการต่างๆ ตามที่กลาวมาตามลำดับมาถักทอลวดลายให้เป็นผืนผ้า ซึ่งผ้ายกลำพูนมีวิธีการทอเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่การยกลวดลายของผ้าแต่ละผืนโดยอาจยกตะกอดอกครั้งเดียว หรืออาจยกตะกอดอกซ้ำกัน 2 ครั้งเพื่อให้ได้ขนาดดอกหรือลวดลายที่ใหญ่ขึ้น (ทัศวรรณ ธิมาคำ, รัตนา ณ ลำพูน และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล, 2554; ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), 2558; มนชนก อุปะทะ, 2559)
7) โครงสร้างของผืนผ้า :
-เป็นผ้าทอยกดอกลายราชวัติทั้งผืน
Worktype
งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ประเภทเครื่องทอ
Citation
“ผ้ายกลายราชวัติ
,” ผ้าโบราณ, accessed April 19, 2025, https://angkaew.com/virtual_museum/omeka/items/show/19.
,” ผ้าโบราณ, accessed April 19, 2025, https://angkaew.com/virtual_museum/omeka/items/show/19.