ผ้าซิ่นทอลายขวาง

Item

C0003-3.JPG
C0003-2.JPG
C0003-1.JPG

Dublin Core

Title

ผ้าซิ่นทอลายขวาง

VRA Core

Work Attributes

Title

1) ชื่อทั่วไป : ผ้าถุง
2) ชื่อภาษาไทย : ผ้าถุง
3) ชื่อภาษาถิ่น : ผ้านุ่ง, ผ้าซิ่น
4) ชื่อเรียกเฉพาะ : ผ้าซิ่นทอลายขวาง

Agent

ไม่ระบุ

Cultural Context

ชาติพันธุ์ : ไทลื้อ
1) เรื่องราวการทอผ้าของชาวไทลื้อ : ผ้าทอของไทลื้อได้รับยกย่องว่ามีความโดดเดิ่นด้วยเทคนิคการทอผ้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการมัดหมี่ การจก การขิด และการยกดอกที่ต้องอาศัยความชำนาญที่สืบทอด แม้ว่าในปัจจุบันผ้าไทลื้อและการแต่งกายตามประเพณีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตประจำวัน แต่เสื้อผ้า ผ้านุ่ง และกางเกงของไทลื้อเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนเสมอ
- ผ้าทอไทลื้อที่น่าสนใจคือผ้าไทลื้อของชุมชนชาวลื้อในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2561) -ชาวไทลื้อ เรียกตัวเองว่า “ลาวคานน้ำ” หรือไทลื้อ จากบริเวณตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมใกล้แม่น้ำลื้อในสิบสองปันนา (เป็นส่วนหนึ่งของจีนในปัจจุบัน)
-การโยกย้ายถิ่นฐานของชาวไทลื้อมาตั้งบ้านเรือนในล้านนา เมื่อ 200 ปีที่แล้ว “เจ้าครองนครน่านกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาเข้ามาอยู่ในล้านนาเป็นจำนวนมาก” โดยมาอยู่ในจังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย และยังมีการเคลื่อนย้ายของชาวไทลื้อเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากพื้นที่อื่นๆด้วย (ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และแพทรีเซีย ชีสแมน, 2533)
  • @dataDate 2021-03-08 06:53:33

Date

ไม่ระบุ

Description

1)คำอธิบายเกี่ยวกับผ้า
- การแต่งกายของผู้หญิงไทลื้อ สวมเสื้อที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” แขนยาวตัดเสื้อเข้ารูป เอวลอยมีสายหน้าเฉียงผูกติดกันด้วยด้ายฟั่นหรือแถบผ้าเล็กๆ ที่มุมซ้ายหรือขาวของลำตัว ชายเสื้อนิยมยกลอยขึ้นทั้งสองข้าง สาบเสื้อขลิบด้วยแถบผ้าสีต่างๆ ประดับด้วยกระดุมเม็ดเล็กเรียงกัน
-ซิ่นไทลื้อที่มีลวดลายกลางตัวซิ่น ส่วนหัวซิ่นผ้าฝ้ายสีดำหรือสีน้ำตาล สีขาว ส่วนตีนซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ สีเสื้อผ้าของผู้หญิงไทลื้อจะใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันไป เช่น ถ้ามีงานบุญจะใส่เสื้อปั๊ดสีขาว โพกหัวด้วยผ้าขาว ส่วนเสื้อผ้าสีดำจะสวมใส่ในงานประเพณี หรืองานแต่งงงาน (ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560)
2) การใช้ประโยชน์ของผ้า : ใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน

Inscription

ชาวไทลื้อมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมไทลื้อกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิม ปรากฎในเรื่องของการทอผ้าที่มีการผสมผสานเทคนิคการทอลวดลาย ระหว่างไทลื้อกับเทคนิค และลวดลายแบบในพื้นถิ่นดั้งเดิม วัฒนธรรมของชาวไทลื้อในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยจึงมีความแตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอย่างหัวซิ่นที่เป็นริ้ว ซึ่งแตกต่างจากดั้งเดิมทึ่จะเป็นลายริ้ว 5 ริ้วเท่านั้น แต่เมื่อมีการผสมผสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้ และไม่เข้าใจในคติความเชื่อเรื่องการกำเนิดของลายริ้วในผ้าซิ่นไทลื้อ โดยหัวผ้าซิ่นไทลื้อแรกเริ่มจะเป็นสีแดง 5 ริ้ว และเมื่อชาวไทลื้ออพยพมาอาศัยตามภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย เช่น อ.ปัว จ.น่าน, จ.แพร่, จ.อุตรดิตถ์, จ.เชียงราย เป็นต้น รูปแบบลายผ้าซิ่นก็เปลี่ยนแปลงไปตามอัตลักษณ์ของผ้าทอพื้นถิ่นนั้น ฉะนั้นจึงมีการปรับเพิ่มหรือลดริ้วผ้าซิ่นไทลื้อและมีการปรับเปลี่ยนสี โดยผ้าซิ่น 5 ริ้วนี้เรียกว่า “ซิ่นต้าหมาหลวง” ซึ่งกลุ่มไทลื้อจะถือว่าบรรพบุรุษของตนเองเป็นสุนัขป่า และเป็นการแสดงให้เห็นว่าชาวไทลื้อเป็นผู้มีความสำนึกในบุญคุณ (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2541; มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543)
-การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อคือ ผ้าซิ่นของผู้หญิงไทลื้อ ที่เรียกว่า “ซิ่นตา” ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่มี 2 ตะเข็บ มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนคือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีดำ ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่นซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิคขิด จก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต (มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, 2563)

Location

พิพิธภัณฑ์ผ้าทอโบราณเฮือนยอง วัดต้นแก้ว

Material

ผ้าฝ้าย

Measurements

กว้าง 14 นิ้ว ยาว 35 นิ้ว

Relation

1)ลายหลัก : ลายขวาง
2) ลายประกอบ : ไม่มี
3) ลักษณะการใช้งาน : ใช้เป็นผ้านุ่งคู่กับเสื้อปั๊ด
4) ประเภทลายผ้า : ลายผ้าเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์
5) การสื่อความหมายของผ้า (ลวดลายผ้า เช่น ลายพันธุ์พฤกษา, ลายสัตว์ เป็นต้น) :
ไม่ระบุ
6) ตำแหน่งบนผืนผ้า (ตีนซิ่น ตัวซิ่น หัวซิ่น)
-ตัวซิ่น ปรากฎลายขวาง ตีนซิ่นต่อด้วยผ้าแพรจีนสีเขียว
7) ความเชื่อของลายผ้า :
-ลายผ้าทอไทลื้อ ได้มีการนำเอาวิถีชีวิตต่างๆของชาวไทลื้อรวมไปถึงการใช้ชีวิตและสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันมาจินตนาการตามแบบของตนเอง นอกจากนี้ความเชื่อของลายผ้าทอไทลื้อในทุกลายมีความเชื่อเหมือนกันว่าเป็นของสูง เพราะในสมัยก่อนเชื่อว่าผู้ชายจะมีของหรือคาถาเลยทอผ้าหลบ (ผ้าปูที่นอน) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าทางไหนคือทางเท้า เพื่อไม่ให้คาถาเสื่อม และยังมีความเชื่อว่าไม่ให้นำลายผ้าทอไทลื้อนี้มาทำเป็นซิ่น เนื่องจากคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนเชื่อว่าลายผ้าทอไทลื้อนี้เป็นของสูงไม่ควรนำมาทำเป็นซิ่น อาจด้วยเหตุเพราะว่าผู้หญิงมีประจำเดือน และประจำเดือนนั้นเป็นของต่ำด้วย
- ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ สำหรับลายผ้าทอไทลื้อในทุกลายจะมีความเชื่อเหมือนกันที่นำมาทำเป็นผ้าหลบ (ผ้าปูที่นอน) ในสมัยก่อนเชื่อว่าผู้ชายมีคาถาอาคม จึงได้ทอผ้าลายต่างๆขึ้นมาเพื่อทำสัญลักษณ์ว่าควรปูผ้าปูที่นอนไปในทิศทางใด (ศิริพร เวียงเงิน, อริสรา ศรีมาลา, และตุลาภรณ์ แสนปรน, 2562)
-การทอให้มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืน กับด้านเส้นพุ่งเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพียงที่จะเกิดเป็นผืนผ้า ประกอบด้วย เส้นยืน (เส้นเครือ) ต้องมีการขึงให้ตึง และยึดอยู่กับที่ ในขณะที่ด้านเส้นพุ่ง จะต้องพันร้อยอยู่กับเครื่องพุ่ง (กระสวย) สำหรับใช้พุ่งด้าย เข้าไปขัดกับด้านเส้นยืนทุกเส้น และพุ่งกลับไปมา จนเกิดเป็นผืนผ้าตามลวดลายและขนาดที่ต้องการ (ศิริพร เวียงเงิน, อริสรา ศรีมาลา, และตุลาภรณ์ แสนปรน, 2562)

Source

1) สถานที่พบเห็นลายผ้า : บ้านศรีเมืองยู้ อ.เมือง จ.ลำพูน
2) สถานที่ผลิตลายผ้า : จ.ลำพูน
3) สถานที่จำหน่ายลายผ้า : จ.ลำพูน

Style Period

1)พ.ศ. : ทศวรรษ 2530
2)ยุคสมัยของการทอ : ไม่ระบุ
3) อายุของผ้า : ไม่ระบุ

Subject

-ผ้าซิ่นทอลายขวาง, ลายขวาง
-ผ้าทอ, ผ้าถุง, ผ้านุ่ง, ผ้าซิ่น
-ผ้าซิ่นไทลื้อ, ไทลื้อ
-ลายผ้าเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์

Technique

1)เทคนิคการทอ : เทคนิคการทอมือ
-ผ้าฝ้ายทอมือ เป็นผ้าทอที่ผลิตจากฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีอยู่ 2 พันธุ์ คือฝ้ายสีขาวและฝ้ายสีตุ่นหรือสีเนื้อ ซึ่งเป็นฝ้ายที่มีคุณลักษณะพิเศษคือมีเส้นใยที่นุ่มและเหนียว โดยเฉพาะฝ้ายสีตุ่นนั้นมีสีธรรมชาติที่งดงาม ผ้าฝ้ายทอมือนอกจากใช้สีตามธรรมชาติแล้วยังนิยมย้อมสีเส้นใยด้วยสีธรรมชาติตามวิธีการยอมแผนโบราณ โดยใช้สีที่ได้จากต้นไม้และสมุนไพรต่างๆ ซึ่งจะได้ผ้าที่มีสีประสานกลมกลืนกันอย่างนุ่มนวลไม่ฉูดฉาดเหมือนผ้าที่ย้อมด้วยสีวิทยาศาสตร์ (คณะศึกษาศาสตร์ และศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535)
2) สีของผ้า : สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน สีชมพูเข้ม สีเหลือง สีเขียว
3)วัสดุตกแต่งผ้า : ไม่มี
4)การย้อมสีฝ้าย : การนำสมุนไพรมาใช้ในการย้อมสีฝ้ายเพื่อให้เกิดสีสัน ชาวไทลื้อในสมัยก่อนจะใช้การย้อมแบบธรรมชาติ คือสีแดง จะย้อมมาจากรากยอ แก่นฝาง ครั่ง เป็นต้น และสีดำ จะได้มาจากการย้อมสีจากผลมะเกลือ และเปลือกเสมอ (ศิริพร เวียงเงิน, อริสรา ศรีมาลา, และตุลาภรณ์ แสนปรน, 2562)
5) อุปกรณ์ในการทอผ้า :
-กี่ ทำมาจากไม้และเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาเองตั้งแต่ในสมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางช่างฝีมือที่นำมาใช้ในการทอผ้า
-กระบวนการทอผ้า : เรียกว่า “ต่ำหูก และในกี่ทอผ้านั้นจะประกอบไปด้วย (1) ฟืมหรือฟันหมี (2) ตะกอหรือเขาหูก (3) แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น (4) แกนม้วนด้านยืน (กี่กระตุก) (5) เท้าเหยียบ (6) ที่นั่ง ใช้สำหรับนั่งขณะทอผ้า (7) กระสวย ใช้สอดใส่ด้ายพุ่ง (8) ไม้หลาก (9) เขาฟืม และ (10) ด้าย (ศิริพร เวียงเงิน, อริสรา ศรีมาลา, และตุลาภรณ์ แสนปรน, 2562)
6) โครงสร้างของผืนผ้า :
- โครงสร้างของผืนผ้าประกอบด้วย หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น

Worktype

งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ประเภทเครื่องทอ

Citation

“ผ้าซิ่นทอลายขวาง,” ผ้าโบราณ, accessed April 19, 2025, https://angkaew.com/virtual_museum/omeka/items/show/12.